07 กุมภาพันธ์ 2551

พวกเขาใช้ภาษาอะไร ?


ពួកគេប្រើភាសាអ្វី ?

ពួកគេប្រើភាសាអ្វី ?
ปวก-เก-เปรอ-เพีย-ซา-เอฺว็ย แปลว่า พวกเขาใช้ภาษาอะไร ?


ภาษาเขมรเป็นภาษาสำหรับการสื่อสารในกลุ่มชาติพันธุ์เขมร นักภาษาศาสตร์ได้จัดภาษาไว้ในตระกูลออสโตรเอเชียติก กลุ่มภาษามอญ-เขมร ชาวเขมรสามารถพัฒนาตัวอักษรเขมรใช้แทนเสียงพูดเขมรมาโดยลำดับ ในปัจจุบันตัวอักษรเขมรแบ่งเป็นตัวอักษรมูลและตัวอักษรเชรียง ลักษณะของตัวอักษรมีลักษณะแตกต่างกันไม่มากนัก ชาวไทยจะรู้จักตัวอักษรมูลในนามตัวอักษรขอม และตัวอักษรเชรียงในนามตัวอักษรขอมหวัด โดยเฉพาะตัวอักษรเชรียงเชื่อกันว่าน่าจะมีวิวัฒนาการมาจากตัวอักษรขอมหวัด
ความสัมพันธ์ระหว่างคนไทยกับภาษาเขมรในฐานะที่เข้าใจว่า “ภาษาขอม”
ศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ ได้เขียนข้อความหนึ่งไว้ในหนังสือตำนานอักษรไทยว่า
“ในสยามประเทศนี้พวกสัตบุรุษเคยได้ใช้ตัวอักษรขอมชนิดนี้ ตั้งแต่ครั้งเมืองสุโขทัยเป็นราชธานี มีตัวอย่างในศิลาจารึกวัดป่ามะม่วง ภาษามคธเป็นคาถาซึ่งมหาสามีสังฆราช (สังฆราชของประเทศลังกา เดินทางเข้าประเทศไทยเพื่อเผยแผ่ลัทธิลังกาวงศ์หรือลัทธิเถรวาท) ได้แต่งสรรเสริญพระเกียรติยศของพระยาลือไทย(พระธรรมราชาที่ ๑) เวลาเสด็จออกผนวช เมื่อ พ.ศ. ๑๙๐๕ (ประชุมศิลาจารึก จารึกกรุงสุโขทัยหลักที่ ๖) ตัวอักษรหลักนี้ ไม่แปลกกับอักษรขอมซึ่งใช้ในสมัยปัจจุบัน แต่มีข้อประหลาดอย่างหนึ่ง คือ เมื่อ พ.ศ. ๑๙๐๕ ปีเดียวกันนั่นเอง พระยาลือไทย องค์ที่กล่าวมานี้ได้โปรดให้จารึกความภาษาเขมรอีกหลักหนึ่ง (ประชุมศิลาจารึกหลักที่ ๔) ตัวอักษรในศิลาจารึกนั้น หาเป็นชนิดเดียวกันกับตัวอักษรขอมในศิลาจารึกภาษามคธของพระมหาสามีสังฆราชไม่ ตัวอักษรในศิลาจารึกภาษาเขมรเหมือนกับตัวอักษรจารึกกรุงกัมพูชา เมื่อราว พ.ศ. ๑๘๐๐ ยังไม่ได้เปลี่ยนรูปสัณฐาน เป็นอักษรขอมที่เขียนหนังสือธรรม เหตุที่ในแผ่นดินพระยาลือไทยธรรมราชา มีอักษรขอมใช้ทั่วไป ชนิดนี้อาจเป็นศิลาจารึกภาษาเขมร คนชาติเขมรเขียนตามแบบเก่าของเขา แต่ศิลาจารึกภาษามคธนั้นเป็นฝีมือคนไทยเขียน หลักฐานชิ้นนี้ น่าจะสันนิษฐานว่า ชนชาติขอมโบราณคงศึกษาลอกแบบอักษรจากอินเดียมาใช้ของตนแบบหนึ่ง ชาติไทยโบราณก็ได้ศึกษาลอกแบบอักษรจากอินเดียมาใช้ของตนแบบหนึ่งเช่นกัน เรียกว่า ต่างก็ลอกมาใช้ในภาษาของตน ต่างก็ปรับปรุง คัดลอกตามความเหมาะสมและรสนิยมของชาติของตน ยิ่งเวลาล่วงเลยมานานเข้าก็ยิ่งแตกต่างกันมากขึ้น อย่างเห็นได้ชัด แม้ว่าอักษรนั้นดั้งเดิมจะมีที่มาจากแหล่งเดียวกัน คืออินเดียก็ตาม จึงไม่อาจสันนิษฐานได้ว่าไทยเอาอย่างจากเขมรหรือเขมรเอาอย่างจากไทย เพราะหลักฐานก็แจ้งชัดอยู่ในศิลาจารึกแล้วว่าต่างกันอย่างไร หาใช่ต่างกันเพราะลายมือ ชาตินั้น ชาตินี้เขียนไม่ เช่นเดียวกับอักษรโรมัน ที่ชาติโรมันนำไปเผยแพร่ในทวีปยุโรป ชาติต่าง ๆ ก็มีเช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน ฯลฯ ก็ล้วนแต่ใช้อักษรโรมัน เขียน ภาษาของตนทั้งสิ้นไม่เห็นมีใครเคยอ้างว่า อังกฤษเอาอย่างฝรั่งเศส หรือฝรั่งเศสเอาอย่างอักษรเยอรมัน”
ตามข้อความที่ศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ ได้เขียนไว้นี้พอวิเคราะห์ได้ว่า อักษรขอมนั้น แท้จริงก็คืออักษรแขก หรืออักษรอินเดียใต้ มีที่มาเดียวกันกับต้นตระกูลภาษาเขมร เมื่อชาวอินเดียได้นำศาสนามาเผยแผ่ก็ได้นำเอาหนังสือหรือคัมภีร์มาด้วย หนังสือเหล่านี้จึงปรากฏว่ามีทั่วไปทั้งในกัมพูชาในชวา และสุมาตรารวมทั้งประเทศไทยด้วย ในราว พ.ศ. ๑๑๐๐-๑๖๐๐ เมื่อประเทศต่าง ๆ ได้รับวัฒนธรรมตลอดกระทั่งศาสนาของชาติอินเดียมาปรับปรุงใช้ในประเทศของตน ในดินแดนแถบสุวรรณภูมินี้ ชนชาติที่มีหลักฐานว่าอยู่ในพื้นที่นานที่สุดคือชนชาติมอญและเขมร จึงน่าจะสันนิษฐานได้อีกอย่างหนึ่งว่า ภาษาขอมก็คือภาษาเขมรที่ชาวไทยได้นำมาเขียนจารึกคัมภีร์ทางศาสนาทั้งที่เป็นภาษาบาลีและภาษาไทย
ตัวอักษรเขมร
รูปแบบตัวอักษรที่ใช้ในปัจจุบันมีอยู่ ๒ อย่าง คือ
ตัวอักษรมูล (អក្សរមួល) มีลักษณะกลม ตัวกว้าง ส่วนมากใช้สำหรับเขียนหนังสือธรรมะ และเขียนหัวข้อเรื่อง ตัวอักษรมูลนี้เอง มีลักษณะเป็นเหมือนกับตัวอักษรขอมที่เราเข้าใจกัน
ក ខ គ ឃ ង
ច ឆ ជ ឈ ញ
ដ ឋ ឌ ឍ ណ
ត ថ ទ ធ ន
ប ផ ព ភ ម
យ រ ល វ
ស ហ ឡ អ
ตัวอักษรเชฺรียง (អក្សរជ្រៀង) มีลักษณะเอน เรียว เป็นที่นิยมใช้โดยทั่วไปในปัจจุบัน เป็นรูปที่ใช้ในการพิมพ์และการเขียนภาษาเขมรโดยทั่วไป สมัยแต่ก่อนไม่มีการพิมพ์ใช้เขียนเอา จะเขียนเป็นตัวเอียง แต่ต่อมามีการพิมพ์ก็ดัดให้ตรงตั้งขึ้นทำให้พิมพ์ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อักษรหวัด เพราะเป็นตัวอักษรที่ใช้เขียนโดยไม่ต้องบรรจงเท่าใดนัก
ตัวอย่างตัวอักษรเชฺรียง ในอดีตนิยมเขียนเป็นตัวเอน

ក ខ គ ឃ ង
ច ឆ ជ ឈ ញ
ដ ឋ ឌ ឍ ណ
ត ថ ទ ធ ន
ប ផ ព ភ ម
យ រ ល វ
ស ហ ឡ អ

ในปัจจุบันเมื่อมีการพิมพ์หนังสือแพร่หลาย หรือตั้งแต่มีการพิมพ์จะใช้ตัวตั้งตรง ซึ่งเขียนเรียกว่า อักษรเชฺรียงโฌร (អក្សរជ្រៀងឈរ) หรืออักษรโฌร(អក្សរឈរ) หมายความว่า อักษรยืนดังตัวอย่าง
ក ខ គ ឃ ង
ច ឆ ជ ឈ ញ
ដ ឋ ឌ ឍ ណ
ត ថ ទ ធ ន
ប ផ ព ភ ម
យ រ ល វ
ស ហ ឡ អ
การเขียนและการอ่านภาษาเขมร เป็นจุดเริ่มต้นสำหรับผู้เรียนภาษาเขมร ถือว่าเป็นหัวใจหลัก จะต้องรู้ เขียนได้ อ่านออกเสียก่อนจึงจะสามารถเข้าไปศึกษาภาษาเขมรได้อย่างลึกซึ้ง เมื่อเขียนและอ่านได้ดีแล้ว จะสามารถวิเคราะห์แยกแยะระบบภาษาเขมรได้อย่างดียิ่ง
ภาษาไทยและภาษาเขมรจะอยู่คนละตระกูลกัน แต่ก็มีคำศัพท์ใช้ร่วมกันอยู่เป็นจำนวนมาก เนื่องจากการทั้งสองภาษาต่างยืมคำซึ่งกันและกันมาใช้เป็นเวลานานตามระยะเวลา ความสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์ นอกเหนือจากการยืมคำซึ่งกันและกันดังที่กล่าวแล้ว ทั้งเขมรและไทยต่างยืมเอาลักษณะบางประการไปใช้ในภาษาของตน เช่น ภาษาเขมรเป็นภาษาที่ไม่มีลักษณะนามและเสียงวรรณยุกต์ จึงยืมลักษณะการใช้ลักษณะนามไปใช้ ในขณะที่ภาษาไทยยืมลักษณะการสร้างคำโดยการใช้หน่วยคำเติมหรือที่เรียกว่าการทำคำแผลงเข้ามาใช้เช่นกัน กาญจนา นาคสกุล, ๒๔๒๔: หน้า ๒๕)
คนไทยสามารถออกเสียงภาษาเขมรได้ส่วนใหญ่ แต่เสียงที่คนไทยออกเสียงไม่ได้ เพราะภาษาไทยไม่มีเสียงนี้ ได้แก่ เสียง /ญ/ /จ/ /ล/ และ /ส/

7 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ldskfjlksfdl

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

เสียงที่ว่าคนไทยจะออกเสียงไม่ได้เฉพาะตำแหน่งพยัญชนะท้ายเท่านั้นค่ะ แต่สามารถออกเสียงได้ในตำแหน่งพยัญชนะต้นพยางค์

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

อ้อ ขอแก้ไข
เสียง ญ ต้นพยางค์ ไทยออกเสียงไม่ได้

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

คิดว่าที่ออกเสียงไม่ได้ไม่เพียง พยันชนะท้าย และ ตัวញ​​​ (ญ) ตัวเดียว
น่าจะมี คำที่สะกดกับสระ ើ ែ​​​ ោ​ ....
จากคนที่พูด เขียน และ อ่าน ภาษากัมพูชา ได้ นิดหน่อย

monthicha-p กล่าวว่า...

รบกวนช่วยเขียนคำอวยพระป็นภาษาเขมรได้ไหมค่ะ
อยากได้ทั้งตัวเขียนเป็นภาษาเขมรและคำอ่านค่ะ

ขอให้คุณสุขภาพแข็งแรง

ไม่ทราบว่าเขียนยังไงค่ะ
ขอบคุณค่ะ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ต้องการได้CD การพูดอ่านเขียนภาษาเขมร

ប៉ាកកាខ្មែរ-Khmer Pen กล่าวว่า...

สวัสดีครับ

ขอถามว่า ในด้านภาษา จะถูกและนำไปใช้ได้หรือไหม ที่การเขียนไม่ได้บอกที่มาของเอกสาร

หวังว่าการเขียนครั้งต่อไปอาจารย์จะบอกที่มาของเอกสาร ด้วย จ๋า

ด้วยความประสงค์จากน้องๆ,